Pesticide facts in Thailand

The successful economic development in Thailand over the last decade ensures the country has an influential role over its neighbours. At present, Thailand is one of the biggest users of pesticides in the South Asia region and a German-sponsored project is working with the government in developing and implementing a more effective regulatory framework for pesticide registration and use.

The German Technical Aid Agency (GTZ)/University of Hannover Pesticide Policy Project has pioneered important economic analysis of the full costs of pesticide use, including examining health and environmental costs. A new report on Thailand by Frauke Jungbluth will help the government examine measures for policy reform.
    Agriculture is a significant, though falling proportion of the Thai economy, contributing about 11% of the gross domestic product (GDP). It remains the main employer in the country with 64% of the total labour force. The area planted with major crops of rice, cassava, rubber, coconut, cotton, sugar cane and oil palm have all increased since 1970 and remained relatively stable since 1980, although forest areas have been rapidly depleted. This reflects both industrial expansion in the country and the falling price of agricultural commodities relative to industrial products.
    Thailand is a major market for pesticides with an annual growth rate between 1982-92 of 8.8%, with some slowing down since then. In 1994 sales amounted to US$247 million. The herbicide market has grown rapidly in recent years and now holds a 51% share of sales, while insecticides hold 38% and fungicides 10%. Most pesticides are imported, and foreign companies hold the biggest market shares: Monsanto has 15% of the market, followed by Ciba Geigy (now Novartis), Du Pont, Cyanamid, Bayer, and Rhône Poulenc. Of imported pesticides, 73% fall into the WHO hazard categories Ia, extremely hazardous, and Ib, highly hazardous, and a further 33% are category II, moderately hazardous. The three main insecticides in use are the organophosphates monocrotophos, methamidophos, and methyl parathion, all considered particularly hazardous under the conditions of use in developing countries. Without a major change in government policy, pesticide imports are expected to increase in future, as more crop land goes into the higher value fruit and vegetable production, where pesticide use is influenced by consumer demand for uniform produce.

Health hazards
The rate of pesticide use in Thailand inevitably has consequences for human health, though identifying the true extent of these is difficult. Many poisoning cases are never reported and do not appear in statistics. For example, a 1985 study concluded that only 2.4% of workers with poisoning incidents consult a hospital. Statistics from the Ministry of Public Health on occupational poisoning show a decrease from a high of 5,154 in 1989 to 3,165 in 1994, although there has been no change in the type and hazard of pesticides used, or the application technology. For the first half of 1996, 1,760 people were admitted to hospital and 16 people died.
    There are indications that farmers generally do not care or are not aware of potential pesticide hazards, or if they are it does not modify their actions in handling pesticides. About half Thai farmers apply higher than recommended concentrations, do not pay attention to labels, wear no protective clothing, and do not observe recommended intervals between spraying and harvest. On the other hand, increasing numbers of farmers hire labour to spray, and wages for spraying pesticides are about twice as high as other farm jobs.
    Many of the sprayers are women, and in one survey 80% of women reported pesticide poisoning, with acute effects including dizziness, muscular pain, headache, nausea, weakness, and difficulty breathing. The study estimated there could be 39,600 pesticide poisoning cases a year, with total annual health costs of about 13 million Baht (US$507,800).

Residues are rife
Studies of pesticide residues in food conducted between 1982-85 by the Food and Drug Administration and the Department of Medical Science found residues in 52% of 663 samples, including DDT in 39% and dieldrin in 15%. A 1993 survey by the National Environment Board indicated no improvement. Pesticide residues were found in all soil samples, 86% of water samples, 32% of fruit, 25% of vegetables and 17% of field crops. A survey of rice in the central region in 1991-92 found residues in paddy, paddy soil and the run off water. The pesticides analysed were monocrotophos, methyl parathion, 2,4-D and carbendazim. A study published in 1995 by the Division of Toxic Substances found that 37% of vegetables were contaminated with organophosphorus insecticide residues. Residues exceeding the maximum residue limits (MRLs) were found in 20% of kale samples, 10% of cowpea, and 10% of tangerines.

Resistance
Insect resistance to pesticides has presented farmers with a major problem, particularly in relation to the brown plant hopper (BPH) in rice production. However heavy use of pesticides seems to have increased the problem with BPH due to the reduction of natural enemies, with studies ironically indicating that BPH infestation does not precede pesticide use, it follows it. Intensified pesticide use also killed the beneficial insects which helped control BPH. While the study found it impossible to assess all the costs related to resistance, it could esti-mate a figure of 57 million Baht (US$2,280,000) a year as the annual average of dealing with a major BPH outbreak every ten years. Other costs include, for example, destruction of beneficial insects, reduction of biodiversity, pollution of drinking water, health and other non-agricultural consequences.
    Pest resistance in vegetables has led to an overdosing of pesticides by up to eight times the recommended rate. A recent study concluded that vegetable growers accept that pests quickly build resistance, but sees no alternative. Farmers are encouraged by pesticide companies to use a mixture of products to prevent resistance build-up, and they do shift to newer products, in spite of their much higher price. However, over time resistance still builds up, the pesticide use creates new problems, and farmers are left in a price spiral.

Policy factors
Although there are no direct subsidies on pesticides in Thailand, a number of factors encourage pesticide use. A favourable import tax on pesticides has helped keep prices low. The main institute for implementing agricultural credit policies has created opportunities for credit to include pesticides. There is little independent information or training, and the extension service focuses mainly on pesticide-based pest management. The government keeps a budget for emergency outbreaks of pests, generally using pesticides to contain the problem: for example in the case of the BPH outbreak 1989/90 which cost 250 million Baht (US$9.7 million). Investment of these funds in on-going IPM programmes may yield better results and returns.
    This study is important not only for providing key information on the pesticide situation in Thailand, but also demonstrates the value of a methodological framework. Other governments may be able to replicate this approach as part of a policy of improving the infrastructure for handling chemicals, making better investment choices, and promoting safer alternatives. (BD)

Jungbluth, Frauke, Crop Protection Policy in Thailand: economic and political factors influencing pesticide use, Pesticide Policy Project, GTZ/University of Hannover (fax +49 511 762 2667), Publication Series No. 5, Hannover, December 1996, 75pp.

[This article first appeared in Pesticides News No. 35, March 1997, page 8]

 

 

 

นับแต่มีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกในปีพ.ศ. 2504 เป็นต้นมา ประเทศไทยเน้นทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาเกษตรกรรม ขานรับอิทธิพลกระแส ‘ปฏิวัติสีเขียว’ ของชาติตะวันตก ซึ่งเชื่อว่า “การทำการเกษตรแบบสมัยใหม่” ที่เน้นการใช้เครื่องจักรและสารเคมี แทนการใช้แรงงานคนและสัตว์ในกระบวนการผลิตตามธรรมชาติ เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเพื่อรองรับตลาดการค้า ทำให้เกษตรกรมีรายได้ ส่งผลรวมต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ความจริงบทหนึ่งที่เรียนรู้ได้ในเวลาต่อมาก็คือ แม้ตัวเลขการส่งออกพืชเศรษฐกิจและปริมาณการผลิตจะเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว หากแต่ผลกระทบที่ตามมากลับมากมายมหาศาล ทั้งปัญหาการลดลงของพื้นที่ป่า ปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม พิษภัยจากสารเคมีตกค้างที่ส่งผลคุกคามสุขภาพของเกษตรกร ผู้บริโภค ตลอดจนผืนดิน แหล่งน้ำ และสิ่งแวดล้อมรอบตัว ตลอดถึงปัญหาทางสังคมและวัฒนธรรม

ปัจจุบันสาธารณชนให้ความสนใจกับภาวะสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้สังคมโดยรวมกลับมาทบทวนถึงรากฐานของระบบเกษตรกรรม ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของคนทั้งประเทศ ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลยังได้ประกาศนโยบายมุ่งมั่นที่จะเป็น “ครัวโลก” เป็นศูนย์รวมแหล่งวัตถุดิบทางด้านเกษตรกรรม ส่งออกเป็นอาหารให้คนทั้งโลก ซึ่งนั่นหมายถึง ตัวเลขรายได้ของประเทศจะขยับสูงขึ้น

ขณะที่ความเป็นจริงในปัจจุบัน เกษตรกรส่วนใหญ่ตกอยู่ในวังวนหนี้สินอย่างไม่รู้จบ เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจนถึงจุดไม่คุ้มทุน ประกอบกับโรคแมลงและพืชรุมเร้าพืชผลทางการเกษตรมากขึ้น เพราะเกิดอาการดื้อยา ทำให้เกษตรกรต้องเพิ่มปริมาณการใช้สารเคมีมากขึ้นอีกเป็นเงาตามตัว ในที่สุดผลกระทบก็คงหนีไม่พ้นที่จะเกิดกับ “ผู้บริโภค”

ประเทศไทยกับการใช้สารเคมี

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการใช้สารเคมีเกษตรมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อมูลจากสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร รายงานว่า ในปีพ.ศ.2546 ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีของไทยอยู่ที่ 3,952,356 ตัน ในจำนวนนี้เป็นปุ๋ยนำเข้า 3,837,787 ตัน คิดเป็นมูลค่า 25,747 ล้านบาท

ส่วนสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่นำเข้าในปีเดียวกัน ข้อมูลของฝ่ายวัตถุมีพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ระบุว่า มีปริมาณรวม 50,331 ตัน คิดเป็นมูลค่า 11,341 ล้านบาท ส่วนประเภทที่นำเข้าสูงสุดคือ สารกำจัดวัชพืช จำนวน 31,879 ตัน โดยรวมแล้วปริมาณการใช้สารเคมีในปีพ.ศ.2546 จึงไม่น้อยกว่า 4 ล้านตัน

ทุกปีประเทศไทยต้องจ่ายเงินค่านำเข้าสารเคมีการเกษตรราว 3 หมื่นล้านบาท เทียบกับรายได้การส่งออกข้าวมูลค่า 70,532 ล้านบาทแล้ว คงได้คำตอบว่า ทำไมชาวนาไทยถึงเป็นหนี้กันไม่รู้จบ เฉพาะค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อปุ๋ยและยาฆ่าแมลงก็เกือบครึ่งของราคาขายแล้ว ยังมีค่าแรงงานคน ค่าขนส่ง ค่าเช่า ค่าน้ำมันรถไถ และอื่นๆ อีกจิปาถะ หักลบกลบหนี้กันแล้ว เกษตรกรก็ต้องติดลบอยู่วันยังค่ำ

ที่ร้ายกว่านั้นคือ สารเคมีเหล่านั้นส่งผลตกค้างในสิ่งแวดล้อม และนับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากการใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็น และการใช้อย่างไม่ถูกวิธี ที่เลวร้ายที่สุดก็คือ ในบรรดาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชราว 1,600 ชนิดที่มีการใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่เพียงไม่ถึง 160 ชนิด ที่เราทราบผลกระทบของมันอย่างชัดเจน แต่สารเคมีอีกกว่าพันชนิดนั้น ไม่มีใครรู้ว่ามันส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่เกิดจากการตกค้างสะสมในสิ่งแวดล้อม

จากการศึกษาของกรมวิชาการเกษตรพบว่า ในสารฆ่าแมลง 100 กิโลกรัม ที่ฉีดพ่นออกไป จะมีเพียง 1 กิโลกรัมเท่านั้นที่ฉีดโดนแมลงและทำให้แมลงตาย แต่ส่วนที่เหลืออีก 99 กิโลกรัม จะตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั้งหมด โดยปลิวไปในอากาศมากถึง 30 กิโลกรัม ระเหยไป 10 กิโลกรัม พลาดพืชเป้าหมายไปอีก 15 กิโลกรัม ไม่โดนแมลงและตกค้างบนพืชอีก 41 กิโลกรัม นอกนั้นจะโดนแมลงในจุดที่ไม่สำคัญอีก 3 กิโลกรัม ซึ่งสารเคมีเษตรเหล่านี้จะตกค้างสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อาหารได้เป็นเวลานานหลายปี ส่งผลกระทบสืบเนื่องไปถึงสุขภาพของเกษตรกร ผู้บริโภค และเป็นปัญหาทางด้านการค้าและการส่งออก

สารเคมีเกษตรตกค้าง

กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังความปลอดภัยของผักปลอดสารเคมี โดยได้สุ่มเก็บตัวอย่างผักมาตรวจอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 ปี ในช่วง พ.ศ. 2537 – 2542 ซึ่งจากการตรวจสอบผักที่วางขายในท้องตลาดทั่วไป 156 ตัวอย่าง พบว่ามีผักมากถึงร้อยละ 73.72 ที่มีการปนเปื้อนของสารเคมี นอกจากนี้ผลการตรวจสอบตัวอย่างผักที่อ้างว่าปลอดสารพิษ ก็พบการตกค้างเช่นกัน ประมาณร้อยละ 43.62 พบว่า คะน้าเป็นผักที่พบสารเคมีตกค้างมากที่สุด รองลงมาคือ ผักกวางตุ้งและผักกาดขาว และในปีหลังๆ เริ่มพบสารเคมีตกค้างในถั่วฝักยาวอีกด้วย

ส่วนในช่วงเดือนมีนาคมพ.ศ.2545 ถึงมีนาคม พ.ศ.2546 กรมส่งเสริมการเกษตรได้สำรวจตรวจหาสารเคมีเกษตรตกค้างในผักและผลไม้ที่ตลาดสี่มุมเมือง รวมทั้งสิ้น 1,753 ตัวอย่าง พบสารเคมีตกค้างจำพวกสารประกอบซัลเฟตและคาร์บาเมทสูงถึงร้อยละ 89.13 โดยเป็นการตกค้างในระดับที่ไม่ปลอดภัยร้อยละ 3.5 ผลการสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นว่า อาจเกิดจากความต้องการรับซื้อผลผลิตที่สวยงามของพ่อค้าแม่ค้า ทำให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีเกษตรมากกว่าปกติ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สวยงามและขายได้ราคาสูง จึงต้องเร่งใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชต่างๆ มากขึ้น ทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในปริมาณที่สูงกว่าผลผลิตที่เก็บจากไร่นาทั่วไป

นอกจากนี้ มีข้อสังเกตประการหนึ่งคือ สัดส่วนสารเคมีตกค้างมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น พบได้ทั้งในผักทั่วไปและผักปลอดสารพิษ ยิ่งกว่านั้น การตรวจสอบยังพบสารเคมีตกค้างชนิดที่มีการห้ามใช้อย่างเช่น สารเอ็นโดซัลแฟน และสารโมโนโคโตฟอส ซึ่งประเทศไทยห้ามใช้มาตั้งแต่ปี 2543

ขณะที่ผลสำรวจสารเคมีตกค้างในพืชผักจากต่างจังหวัด จำนวน 414 ตัวอย่าง พบว่ามีสารเคมีเกษตรตกค้างร้อยละ 43.23 และร้อยละ 21.01 อยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งพืชที่มีสารเคมีตกค้างในระดับที่ไม่ปลอดภัย 3 อันดับต้นๆ คือ กะหล่ำดอก ถั่วลันเตา และหัวหอม

นอกจากนี้ยังพบสารเคมีตกค้างในสินค้าเกษตรจำพวกข้าว ผัก และผลไม้ ที่ส่งออกไปขายยังต่างประเทศจำนวนหนึ่ง ทำให้หลายประเทศ รวมถึงญี่ปุ่น ไต้หวัน นอร์เวย์ ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ ห้ามนำเข้าสินค้าที่มีสารเคมีตกค้างในช่วงปีพ.ศ. 2543 – 2544

ทางเลือกมีมากกว่าหนึ่ง

ด้วยวิกฤติปัญหาดังกล่าว ประกอบกับการเรียกร้องของภาคประชาคม ส่งผลให้รัฐบาลปรับนโยบายทิศทางการพัฒนาประเทศ ตั้งแต่ปลายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 และชัดเจนยิ่งขึ้นในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (ปีพ.ศ. 2540 – 2544) และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (ปีพ.ศ.2545 – 2549) มุ่งเน้นนโยบายสนับสนุนการเกษตรแบบ “ยั่งยืน” ที่มีคนเป็นศูนย์กลางและเน้น “เศรษฐกิจแบบพอเพียง” แต่ยังคงไว้ซึ่งความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก

เกษตรกรรมยั่งยืนนี้ เป็นแนวทางพัฒนาการเกษตรอันเป็นทิศทางเดียวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งทั่วทั้งโลกกำลังให้ความสำคัญ หลังจากการพัฒนาที่ผ่านมาได้สร้างผลกระทบอันไม่พึงประสงค์หลายอย่าง โดยพัฒนาการเกษตรกรรมอินทรีย์ในต่างประเทศ เริ่มขึ้นที่ยุโรปเมื่อราว 50 ปีที่ผ่านมา (เป็นช่วงเดียวกับที่ไทยเรากำลัง ‘เห่อ’ ใช้สารเคมีเกษตร) ซึ่งเป็นช่วงที่เกษตรกรในยุโรปเริ่มประสบปัญหาจากการทำการเกษตรเคมีมายาวนาน ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ ด้วยการริเริ่มร่วมกันของเกษตรกรและนักวิชาการ ต่อมาก็ได้มีการนำแนวคิดนี้ไปทดลองทำและขยายไปทั่วยุโรป เมื่อมีการพัฒนากันมากขึ้น รัฐบาลหันมาสนใจและให้เงินอุดหนุนโดยตรง จากนั้นก็มีการขยายต่อไปยังภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยเราด้วย

สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements – IFOAM) ให้นิยามเกษตรอินทรีย์ว่า เป็นระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักการปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์จึงลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ ในขณะเดียวกันก็พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิตและพัฒนาความต้านทางต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง หลักการเกษตรอินทรีย์นี้ เป็นหลักการสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศและวัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย

เกษตรอินทรีย์มุ่งเน้นการทำเกษตรที่คำนึงถึงความสอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ เช่น ปลูกพืชตามฤดูกาล หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทางการเกษตร และสารพิษทุกชนิด บำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน เช่น ปลูกพืชตระกูลถั่ว พืชคลุมดิน และใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างผสมผสาน รักษาความหลากหลายทางชีวภาพด้วยการปลูกพืชหลายชนิดร่วมกันในพื้นที่เพาะปลูก สัตว์เลี้ยงได้รับการดูแลที่เหมาะสม ไม่กักขังและทำทารุณ เกษตรกรมีความสุข มีเสรีภาพและรายได้ที่เป็นธรรม เกษตรกรพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิต ส่งเสริมให้มีการแพร่ขยายพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีประโยชน์ เช่น การปลูกไม้ดอกแซมในไร่นา หรือการปลูกพืชให้เป็นที่อยู่ของสัตว์และแมลงที่เป็นประโยชน์ ปลูกพืชขับไล่แมลงร่วมกันในแปลงปลูกพืช ช่วยลดปัญหาแมลงศัตรูพืชได้ เช่น ปลูกหอมใหญ่ร่วมกับกะหล่ำปลี ตะไคร้หอมกับผักคะน้า เป็นต้น หลีกเลี่ยงการปลูกพืชชนิดเดิมซ้ำบนแปลงเดียวกัน แต่ปลูกผักหรือพืชอื่นหมุนเวียนกันในแปลง เพื่อลดปัญหาการระบาดของโรคและแมลง ใช้วิธีควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช เช่น การไถกลบ การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชร่วม การปลูกพืชคลุมดิน การใช้วัสดุคลุมดินจากธรรมชาติ

ระบบเกษตรยั่งยืนจึงเป็นแนวทางการพัฒนาอาชีพที่สัมพันธ์กับการเกษตรและสิ่งแวดล้อม สอดรับกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางหลักของการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การผลิตผักไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในแปลงเปิด โดยวิธีการบริหารศัตรูพืชแบบผสมผสาน นับเป็นวิธีการหนึ่งที่ปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำและให้ผลตอบแทนสูงไม่แพ้การผลิตผักโดยวิธีการอื่น ๆ จึงนับได้ว่าเป็นการผลิตผักปลอดภัยอีกวิธีการหนึ่งที่เป็นทางเลือกของเกษตรกร

นี่เป็นมิติใหม่ของนโยบายพัฒนาการเกษตรไทยที่เล็งเป้าหมายสูงกว่าตัวเลขรายได้ เพราะให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน อย่างไรก็ตาม การดำเนินการได้ตามเป้าหมายต้องได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐ เอกชน ตลอดจนตัวเกษตรกร ผู้บริโภค และกลไกต่างๆ ในสังคม เพื่อผลักดัน “นโยบาย” ไปสู่ “การปฏิบัติ” ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จ

6 สารเคมีอันตราย
ข้อมูลจากหนังสือ 6สารเคมีอันตราย : ภัยคุกคามสุขภาพคนไทย * ระบุว่า สารเคมีทั้ง 6 ชนิด ได้แก่

1.         พาราไธออน เมทิล (Parathion methyl) หรือที่รู้จักดีในทางการค้า เช่น โฟลิดอน ดี605, ประตูทอง 3.5.9, โพลิดอน เอ็ม 50 อี 605, โฟลิดอน, พาราเมท เป็นต้น องค์การอนามัยโลกจัดว่าเป็นสารที่มีอันตรายร้ายแรงสูงมาก หากคนเรากินสารเคมีชนิดนี้เข้าไปไม่ถึง 1 ช้อนชา ก็อาจเสียชีวิตได้ ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฟิลิปปินส์ และศรีลังกา ห้ามใช้ ห้ามจำหน่าย และห้ามนำเข้าสารนี้แล้ว ขณะที่ประเทศสหราชอาณาจักร ห้ามมิให้มีการขึ้นทะเบียนการใช้ ขณะที่ประเทศมาเลเซีย สหภาพเมียนมาร์ และแคนาดา ได้ประกาศห้ามนำสารเคมีนี้เข้าประเทศ 
ปัจจุบันยังมีการอนุญาตให้ใช้สารเคมีชนิดนี้ในประเทศไทย แต่คณะกรรมการวัตถุอันตรายแห่งชาติกำลังดำเนินการให้มีการประกาศห้ามใช้สารพาราไธออนเมทิล 
การเพาะปลูกพืชจำพวกผักบุ้งจีน กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ลำไย แอปเปิ้ล ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง พุทรา ชมพู่ องุ่น หัวหอม มะเขือเทศ คะน้า และข้าว มักใช้สารพาราไธออนเมทิล

2.         .อีพีเอ็น (EPN) หรือชื่อทางการค้า ได้แก่ อีซี่น๊อก คูมิฟอส อีพีเอ็น ฟริสโน 45 คาวิตี้ โฟเมท อีซี เป็นต้น จัดว่ามีอันตรายร้ายแรงสูงมาก ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการยกเลิกการใช้สารนี้แล้ว และไม่มีการขึ้นทะเบียนการใช้ในประเทศออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และแคนาดา ส่วนประเทศอินเดียมีการห้ามใช้สารนี้อย่างเด็ดขาด
ประเทศไทยยังมีการอนุญาตให้ใช้สารเคมีชนิดนี้ แต่จัดเป็นสารกลุ่มที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายแห่งชาติต้องเฝ้าระวัง 
พืชที่มักใช้สารชนิดนี้ในการเพาะปลูก ได้แก่ ข้าวโพด เป็นต้น

3.         คาร์โบฟูแรน (Carbofuran) รู้จักในทางการค้าว่า ฟูราดาน ยิปปูราน คาซาลิน คาเบนฟูดาน 3 จี เป็นต้น จัดเป็นสารที่มีพิษร้ายแรงสูง ในประเทศสหราชอาณาจักร สารชนิดนี้ถูกยกเลิกการใช้ตั้งแต่ปีค.ศ.2000 ภายใต้เงื่อนไขการใช้ให้หมดภายในปีค.ศ.2002 สำหรับประเทศไทยยังมีการอนุญาตให้ใช้สารคาร์โบฟูรานได้ 
พืชที่ใช้สารคาร์โบฟูรานในการเพาะปลูก ได้แก่ ถั่วฝักยาว ข้าว แตงโม แตงกวา กาแฟ กล้วย ส้มเขียวหวาน ถั่วแขก ถั่วแระ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา องุ่น สตรอเบอร์รี่ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เป็นต้น

4.         ไดโครโตฟอส (Dicrotophos) มีพิษร้ายแรงสูง ประเทศอินเดียและปากีสถานได้ประกาศห้ามใช้สารชนิดนี้อย่างเป็นทางการ เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกการใช้แล้ว ขณะที่ประเทศออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และแคนาดาห้ามขึ้นทะเบียนการใช้ 
พืชจำพวกผักกาดหัว ถั่วฝักยาว ข้าว กาแฟ มะเขือเทศ อ้อย มันฝรั่ง ข้าวโพด คะน้า ส้มเขียวหวาน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วแระ ถั่วแขก ถั่วลันเตา องุ่น ฝ้าย สตรอเบอร์รี่ กะหล่ำปลี เป็นต้น มักใช้ไดโครโตฟอสในการเพาะปลูก

5.         เมทโทมิล (Methomyl) จัดว่ามีพิษร้ายแรงสูง สารชนิดนี้ถูกยกเลิกการใช้ในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปีค.ศ.2000 และไม่มีการขึ้นทะเบียนการใช้ในประเทศเยอรมนีและฟินแลนด์ ส่วนในประเทศไทยนั้นยังมีการใช้สารนี้อย่างกว้างขวางในชื่อทางการค้าว่า แลนเนท สกาย เมโทมิล แรนดอม น๊อคออน เมทโธเม็กซ์ โกลเด้นฟลาย ฯลฯ มักใช้ในการเพาะปลูกพืชจำพวกองุ่น ส้มเขียวหวาน สตรอเบอร์รี่ ลำไย แอปเปิ้ล กระหล่ำปลี หัวหอม มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบขาว ฯลฯ

6.         เอ็นโดซัลแฟน (Endosulfan) จัดว่ามีอันตรายปานกลาง หากคนเรากินสารเคมีชนิดนี้เข้าไปประมาณ 1 ช้อนชา ถึง 2 ช้อนโต๊ะ ก็อาจเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล แต่ในสหรัฐอเมริกาจัดให้สารนี้อยู่ในกลุ่มสารที่มีอันตรายสูงมาก ประเทศเนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ฟิลิปปินส์ และศรีลังกา มีประกาศห้ามใช้ ห้ามผลิต และห้ามจำหน่ายสารนี้ 
ประเทศไทยมีการใช้สารเอ็นโดซัลแฟนอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะไม้ผล ผัก และในนาข้าว ชาวนานิยมใช้สารนี้กำจัดหอยเชอรี่ สารนี้มีอันตรายต่อสัตว์น้ำรุนแรงมาก คณะกรรมการวัตถุอันตรายแห่งชาติจึงจัดให้เป็นสารเคมีที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

* จัดทำโดย เครือข่ายสาขานโยบายการเกษตรและชนบท แผนงานวิจัยและพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ และระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข โทรศัพท์ 0-2951-0169-70 http://www.hpp-hia.or.th

ข้อมูลอ้างอิง
1. นิตยสารนิวไลฟ์, ผักปลอดสารพิษ, ปีที่ 23 ฉบับที่ 76 เดือนกันยายน – ธันวาคม 2545, หน้า 22-23
2. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, เอกสารประกอบการปฏิรูประบบสุขภาพ สำหรับการประชุมเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2546, หยุด ! สารเคมีเกษตรเพื่อสุขภาพคนไทย, กรุงเทพฯ 
3. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, เอกสารประกอบการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปี 2547, มาตรการควบคุมระบบการตลาดสารเคมี, สิงหาคม 2547
4. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 6 สารเคมีอันตราย : ภัยคุกคามสุขภาพคนไทย,กันยายน 2547.
5. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร (ศวพก.), คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จ.เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ 053-221275 โทรสาร 053-210000 http://mccweb.agri.cmu.ac.th